บันทึกความเข้าใจ เรื่อง
ความร่วมมือเพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับ ยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ลงนามเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม X04B ชั้น 10 อาคารเคเอ็กซ์
ตามที่สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งมีความประสงค์จัดตั้ง เครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมุ่งเม้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ทางสมาคมฯ มีแผนในการจัดทำบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ความร่วมมือเพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เพื่อดำเนินการและประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า และแสวงหาแนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดย มี "เครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ" ดังนี้
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. การไฟฟ้านครหลวง
3. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
4. บริษัท อรุณ พลัส จำกัด
5. บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน)
6. บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด
7. บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด
8. บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด
9. บริษัท โชเซ่น เทคโนโลยี จํากัด
10. บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด
11. บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด
12. บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
13. บริษัท อัลเตอร์วิม พาวเวอร์ อีวี จำกัด
13. บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด
14. บริษัท จีโอไนน์ซอฟต์แวร์ จำกัด
ภาพบรรยากาศ (MOU)
โดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ มีความประสงค์จะเข้าทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อ ดำเนินการและประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าและแสวงหา แนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ตกลงทำบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในความร่วมมือเพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายๆ โดยไม่ จํากัดเฉพาะของเครือข่าย ในเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่าง เครือข่ายๆ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม
นอกจากนี้ภายในงานกลุ่ม Charging Consortium ของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ยังได้เปิดตัว EV charging station map กลาง ที่รวบรวมโลเคชั่น ของทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าในกลุ่ม Charging Consortium บนเว็บไซต์ http://www.evat.or.th โดยในการนี้ ดร. มัณฑนา รังสิโยภาส เลขาธิการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) กล่าวว่า 'กลุ่ม Charging Consortium ภายใต้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เป็นผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อีกทั้งในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เราเริ่มเห็นการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง สถานีอัดประจุไฟ้ฟ้าก็เติบโตไปในทิศทางเดียวกันด้วย นอกจากนี้ ไฮไลท์สำคัญของการลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ เราได้มีการเปิดตัว เว็บไซต์กลางที่รวบรวบ สถานีอัดประจุไฟฟ้าจากทุกค่าย ที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ไว้ในเว็บไซต์เดียว ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านเว็บไซต์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น'
ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงร่วมกันฉบับดังกล่าวนี้ มีผลบังคับใช้นับจากวันที่ลงนามกับทุกฝ่ายเป็นระยะ เวลา 2 ปี
Thailand Charging Consortium Workshop
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำโดยคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และคุณฉันทกร เดวิชญ์ กริดวิชญยาการ อุปนายกสมาคม และประธานคณะทำงาน Thailand Charging Consortium คณะกรรมการสมาคม รวมทั้งบริษัทผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศไทย ได้เข้าร่วมทำ Workshop และประชุมสรุปแนวทางการให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าข้ามเครือข่ายภายในประเทศ รองรับการขยายการให้บริการไปยังประเทศในกลุ่ม ASEAN ในเครือข่ายความร่วมมือของสมาคมฯในระดับประเทศต่อไป
กลุ่ม Thailand Charging Consortium ปัจจุบันประกอบด้วยผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้า 14 ราย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในกรอบระยะเวลาความร่วมมือปี 2565-2567
การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 (2565-2566) ดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานีชาร์จและสถานะหัวชาร์จออนไลน์เสร็จสิ้น จำนวน 5 ผู้ให้บริการ และช่วงที่ 2 (2566-2567) จะดำเนินการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ โดยภายในปี 2566 จะมีกลุ่มผู้ให้บริการอย่างน้อย 3 ราย เปิดให้บริการระบบการชาร์จข้ามเครือข่ายอย่างถาวร
ทั้งนี้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบตราสัญลักษณ์โครงการในพื้นที่สถานีชาร์จ หรือบนแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อตรวจสอบว่าสถานีดังกล่าวเปิดให้บริการชาร์จไฟฟ้าข้ามเครือข่ายหรือไม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย http://www.evat.or.th อีเมล์ pr@evat.or.th
ภาพบรรยากาศ (Workshop)